วัฒนธรรมล้านนา
1. อาณาจักรล้านนา
อาณาจักรล้านนา (คำเมือง: LN-Lanna.png) คือ
ราชอาณาจักรของชาวไทยวนในอดีตที่ตั้งอยู่บริเวณภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย
ตลอดจนสิบสองปันนา เช่น เมืองเชียงรุ่ง (จิ่งหง) มณฑลยูนนาน ภาคตะวันออกของพม่า
ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำสาละวิน ซึ่งมีเมืองเชียงตุงเป็นเมืองเอก
ฝั่งตะวันตกแม่นำสาละวิน มีเมืองนายเป็นเมืองเอก และ 8 จังหวัด ได้แก่
จังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง เชียงราย พะเยา แพร่ น่าน และแม่ฮ่องสอน
โดยมีเมืองเชียงใหม่ เป็นราชธานี มีภาษา ตัวหนังสือ วัฒนธรรม
และประเพณีเป็นของตนเอง ต่อมาถูกปกครองในฐานะรัฐบรรณาการของอาณาจักรตองอู
อาณาจักรอยุธยา และอาณาจักรอังวะ จนสิ้นฐานะอาณาจักร
กลายเป็นเมืองส่วนหนึ่งของอาณาจักรอังวะในราชวงศ์นยองยาน ไปในที่สุด
ล้านนา หมายถึง
ดินแดนที่มีนานับล้าน หรือมีที่นาเป็นจำนวนมาก คู่กับล้านช้าง
คือดินแดนที่มีช้างนับล้านตัว เมื่อปี พ.ศ. 2530 คำว่า "ล้านนา" กับ
"ลานนา" เป็นหัวข้อโต้เถียงกัน ซึ่งคณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ไทย
ซึ่งมี ดร. ประเสริฐ ณ นคร เป็นประธาน ได้ให้ข้อยุติว่า "ล้านนา"
เป็นคำที่ถูกต้อง และเป็นคำที่ใช้กันในวงวิชาการ
ปัญหาที่นำไปสู่การโต้เถียงกันนั้น
สืบเนื่องมาจากในอดีตการเขียนมักไม่ค่อยเคร่งครัดในเรื่องวรรณยุกต์
แต่ก็เป็นที่เข้าใจกันว่า แม้จะเขียนโดยไม่มีรูปวรรณยุกต์โทกำกับ
แต่ให้อ่านเหมือนมีวรรณยุกต์โท[4] สำหรับคำ "ลานนา"
น่าจะมาจากพระบรมราชวินิจฉัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ว่า
"ลานนาหมายถึงทำเลทำนา" ซึ่งทำให้คำว่าลานนาใช้กันมาเป็นเวลาเกือบหนึ่งศตวรรษ
ภายหลัง พ.ศ. 2510 นักวิชาการระดับสูงพบว่าล้านนาเป็นคำที่ถูกต้องแล้ว
และชัดเจนยิ่งขึ้นเมื่อ ดร. ฮันส์ เพนธ์ ค้นพบคำว่า "ล้านนา" ในศิลาจารึกที่วัดเชียงสา
ซึ่งเขียนขึ้นในปี พ.ศ. 2096 อย่างไรก็ดี การตรวจสอบคำว่า ล้านนา
ได้อาศัยศัพท์ภาษาบาลี โดยพบว่าท้ายคัมภีร์ใบลานจากเมืองน่านและที่อื่นๆ
จำนวนไม่น้อยกว่า 50 แห่ง เขียนว่า ทสลกฺขเขตฺตนคร (LN-Dassalakakettanakorn.png) /ทะสะลักขะเขตตะนะคอน/
แปลว่า เมืองสิบแสนนา เป็นคำคู่กับเมืองหลวงพระบางที่ชื่ออาณาจักร ศรีสตนาคนหุต
หรือช้างร้อยหมื่น
คำว่าล้านนาน่าจะเกิดขึ้นครั้งแรกในสมัยพญากือนา
เนื่องจากพระนาม "กือนา" หมายถึงจำนวนร้อยล้าน
และต่อมาคำล้านนาได้ใช้เรียกกษัตริย์และประชาชน แพร่หลายมากในสมัยพระเจ้าติโลกราช
ส่วนการใช้ว่า
"ล้านนาไทย" นั้น เป็นเสมือนการเน้นความเป็นไทย ซึ่งใช้กันมาในสมัยหลังด้วยเหตุผลทางการเมือง
1.1 อาณาเขตของล้านนา
หลักฐานทางประวัติศาสตร์กล่าวไว้ว่า
ดินแดนล้านนานั้นหมายถึงดินแดนบางส่วนของอาณาเขตบริเวณ ลุ่มน้ำแม่โขง
ลุ่มน้ำสาละวิน แม่น้าเจ้าพระยา ตลอดจนเมืองที่ตั้งตามลุ่มน้ำสาขาเช่นแม่นำกก
แม่น้ำปิง แม่น้ำวัง แม่น้ำยม แม่น้ำน่าน แม่น้ำปาย แม่นำแตง แม่น้ำงัด
ฯลฯโดยมีอาณาเขตทางทิศใต้จดเมืองตาก (อำเภอบ้านตากในปัจจุบัน)
และจดเขตดินแดนด้านเหนือของอาณาจักรสุโขทัย ทิศตะวันตกเลยลึกเข้าไปในฝั่งตะวันตกของแม่น้ำสาละวิน
ทิศตะวันออกจดฝั่งตะวันตกของแม่น้ำโขง ทิศเหนือจดเมืองเชียงรุ่ง
(หรือคนจีนเรียกในปัจจุบันว่า เมืองจิ่งหง) ซึ่งบริเวณชายขอบของล้านนา อาทิ
เมืองเชียงตุง เชียงรุ่ง เมืองยอง เมืองปุ เมืองสาด เมืองนาย
เป็นบริเวณที่รัฐล้านนาแผ่อิทธิพล ไปถึงในเมืองนั้นๆ
ในสมัยโบราณได้กล่าวถึงเมืองขึ้นกับดินแดนล้านนามี
57 เมือง ดังปรากฏในตำนาน พื้นเมืองของเชียงใหม่ว่า ใน สัตตปัญญาสล้านนา 57
หัวเมือง[3] แต่ก็ไม่ได้ระบุว่ามีเมืองใดบ้าง
ปัจจุบันมีหลักฐานสมัยที่พม่าปกครองเมืองเชียงใหม่ (พ.ศ. 2101-2317) และได้แปลเป็นภาษาพม่า
ต่อมาในปี ค.ศ. 2003 ทางมหาวิทยาลัย Yangon
ได้แปลเป็นภาษาอังกฤษ ชื่อ Zinme Yazawin หรือตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ฉบับภาษาพม่า
ได้ระบุเมืองต่างๆ 57 หัวเมือง โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มเมือง คือ
กลุ่มเมืองขนาดใหญ่ มี 6 เมือง กลุ่มเมืองขนาดกลางมี 7 เมือง กลุ่มเมืองขนาดเล็กมี
44 เมือง เช่น เมืองฝาง เมืองเชียงของ เมืองพร้าว เมืองเชียงดาว เมืองลี้ เมืองยวม
เมืองสาด เมืองนาย เมืองเชียงตุง เมืองเชียงคำ เมืองเชียงตอง เมืองน่าน เมืองเทิง
เมืองยอง เมืองลอง เมืองตุ่น เมืองแช่ เมืองอิง เมืองไลค่า เมืองลอกจ๊อก เมืองปั่น
เมืองยองห้วย เมืองหนองบอน เมืองสู่ เมืองจีด เมืองจาง เมืองกิง เมืองจำคา
เมืองพุย เมืองสีซอ เมืองแหงหลวง เมืองหาง เมืองพง เมืองด้ง ฯลฯ
1.2 ประวัติศาสตร์ของอาณาจักรล้านนา
พญามังราย
กษัตริย์แห่งหิรัญนครเงินยาง องค์ที่ 25 ในราชวงศ์ลวจังกราชปู่เจ้าลาวจก
ได้เริ่มตีเมืองเล็กเมืองน้อย ตั้งแต่ลุ่มแม่น้ำกก แม่น้ำอิง และแม่น้ำปิงตอนบน
รวบรวมเมืองต่างๆให้เป็นปึกแผ่น นอกจากเงินยางแล้ว
ยังมีเมืองพะเยาของพญางำเมืองพระสหาย
ซึ่งพญามังรายไม่ประสงค์จะได้เมืองพะเยาด้วยการสงคราม
แต่ทรงใช้วิธีผูกสัมพันธไมตรีแทน หลังจากขยายอำนาจระยะหนึ่ง
พระองค์ทรงย้ายศูนย์กลางการปกครอง โดยสร้างเมืองเชียงรายขึ้นแทนเมืองเงินยาง
เนื่องด้วยเชียงรายตั้งอยู่ริมแม่น้ำกกเหมาะเป็นชัยสมรภูมิ
ตลอดจนทำการเกษตรและการค้าขาย
หลังจากได้ย้ายศูนย์กลางการปกครองมาอยู่ที่เมืองเชียงรายแล้ว
พระองค์ก็ได้ขยายอาณาจักรแผ่อิทธิพลลงทางมาทางทิศใต้
ขณะนั้นก็ได้มีอาณาจักรที่เจริญรุ่งเรืองมาก่อนอยู่แล้วคือ อาณาจักรหริภุญชัย
มีนครลำพูนเป็นเมืองหลวงตั้งอยู่ในชัยสมรภูมิที่เหมาะสมประกอบด้วยมีแม่น้ำสองสายไหลผ่านได้แก่แม่น้ำกวงและแม่น้ำปิงซึ่งเป็นลำน้ำสายใหญ่ไหลลงสู่ทะเลเหมาะแก่การค้าขายและการป้องกันพระนคร
มีนครลำปางเป็นเมืองหน้าด่านคอยป้องกันศึกศัตรู
สองเมืองนี้เป็นเมืองใหญ่มีกษัตริย์ปกครองอย่างเข้มแข็ง
การที่จะเป็นใหญ่ในดินแดนแถบนี้ได้จะต้องตีอาณาจักรหริภุญชัยให้ได้
พระองค์ได้รวบรวมกำลังผู้คนจากที่ได้จากตีเมืองเล็กเมืองน้อยรวมกันเข้าเป็นทัพใหญ่และยกลงใต้เพื่อจะตีอาณาจักรหริภุญชัยให้ได้
โดยเริ่มจากตีเมืองเขลางค์นคร นครลำปางเมืองหน้าด่านของอาณาจักรหริภุญชัยก่อน
เมื่อได้เมืองลำปางแล้วก็ยกทัพเข้าตีนครลำพูน (แคว้นหริภุญชัย)
พระองค์เป็นกษัตริย์ชาตินักรบมีความสามารถในการรบไปทั่วทุกสารทิศ
สามารถทำศึกเอาชนะเมืองเล็กเมืองน้อยแม้กระทั่งอาณาจักรหริภุญชัยแล้วรวบเข้ากับอาณาจักรโยนกเชียงแสนได้อย่างสมบูรณ์
หลังจากพญามังรายรวบรวมอาณาจักรหริภุญชัยเข้ากับโยนกเชียงแสนเสร็จสิ้นแล้ว
ได้ขนามนามราชอาณาจักรแห่งใหม่นี้ว่า "อาณาจักรล้านนา" พระองค์มีดำริจะสร้างราชธานีแห่งใหม่นี้ให้ใหญ่โตเพื่อให้สมกับเป็นศูนย์กลางการปกครองแห่งอาณาจักรล้านนาทั้งหมด
พร้อมกันนั้นก็ ได้อัญเชิญพระสหายสนิทร่วมน้ำสาบานสองพระองค์ได้แก่
พญางำเมืองแห่งเมืองพะเยา และ พ่อขุนรามคำแหงแห่งสุโขทัย
มาร่วมกันสถาปนาราชธานีแห่งใหม่ในสมรภูมิบริเวณที่ลุ่มริมฝั่งมหานทีแม่ระมิงค์
(แม่น้ำปิง) โดยตั้งชื่อราชธานีแห่งใหม่นี้ว่า
"นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่" แต่ก่อนที่จะตั้งเมือง
พระองค์ทรงได้สร้างราชธานีชั่วคราวขึ้นก่อนแล้ว ซึ่งก็เรียกว่า
เวียงกุมกามแต่เนื่องจากเวียงกุมกามประสบภัยธรรมชาติใหญ่หลวงเกิดน้ำท่วมเมืองจนกลายเป็นเมืองบาดาล
ดังนั้นพระองค์จึงได้ย้ายราชธานีมาอยู่ ณ นครเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 1839
และได้เป็นศูนย์กลางการปกครองราชอาณาจักรล้านนานับแต่นั้น
นครเชียงใหม่มีอาณาเขตบริเวณอยู่ระหว่างเชิงดอยอ้อยช้าง (ดอยสุเทพ) และ
บริเวณที่ราบฝั่งขวาของแม่น้ำปิง (พิงคนที)
นับเป็นสมรภูมิที่ดีและเหมาะแก่การเพาะปลูกเนื่องจากเป็นบริเวณที่ราบลุ่มมีแม่น้ำไหลผ่าน
1.3 การล่มสลายของอาณาจักรล้านนา
อาณาจักรล้านนาเริ่มเสื่อมลงในปลายรัชสมัย
"พญาแก้ว"
เมื่อกองทัพเชียงใหม่ได้พ่ายแพ้แก่ทัพเชียงตุงในการทำสงครามขยายอาณาจักร ไพร่พลในกำลังล้มตายลงเป็นจำนวนมาก
ประกอบกับปีนั้นเกิดอุทกภัยใหญ่หลวงขึ้นในเมืองเชียงใหม่
ทำให้บ้านเรือนราษฎรเสียหายและผู้คนเสียชีวิตลงเป็นจำนวนมาก
สภาพบ้านเมืองเริ่มอ่อนแอเกิดความไม่มั่นคง หลังจาก "พญาแก้ว"
สิ้นพระชนม์ก็เกิดการจลาจลแย่งชิงราชสมบัติ ระหว่างขุนนางมีอำนาจมากขึ้น
ถึงกับแต่งตั้งหรือถอดถอนเจ้าได้ เมื่อนครเชียงใหม่ศูนย์กลางอำนาจเกิดสั่นคลอน
เมืองขึ้นต่าง ๆ ที่อยู่ในการปกครองของเชียงใหม่จึงแยกตัวเป็นอิสระ
และไม่ส่งเครื่องราชบรรณาการอีกต่อไป
เมื่อกรุงศรีอยุธยาแตกครั้งที่ 1
พระเจ้าบุเรงนอง แห่งอาณาจักรตองอูได้ทำศึกมีชัยชนะไปทั่วทุกทิศานุทิศ
จนได้รับการขนานนามพระเจ้าผู้ชนะสิบทิศ
พระเจ้าบุเรงนองได้ทำศึกยึดครองนครเชียงใหม่ไปประเทศราชได้สำเร็จ
รวมทั้งได้เข้าได้ยึดเมืองลูกหลวงและเมืองบริเวณของเชียงใหม่ไปเป็นประเทศราชด้วย
ในช่วงแรกนั้นทางพม่ายังไม่ได้เข้ามาปกครองเชียงใหม่โดยตรง
เนื่องจากยุ่งกับการศึกกับกรุงศรีอยุธยา แต่ยังคงให้พระเจ้าเมกุฏิสุทธิวงศ์
ทำการปกครองบ้านเมืองต่อตามเดิม
แต่ทางเชียงใหม่จะต้องส่งเครื่องราชบรรณาการไปให้หงสาวดี ต่อมาพระเจ้าเมกุฎิ
ทรงคิดที่จะตั้งตนเป็นอิสระ ฝ่ายพม่าจึงปลดออกและแต่งตั้งมหาเทวีวิสุทธิ
ผู้มีเชื้อราชวงศ์มังราย ซึ่งสันนิษฐานว่าอาจเป็นพระมารดาของพระเจ้าเมกุฏิ[8][9]
ขึ้นเป็นเจ้าเมืองเชียงใหม่แทน จนกระทั่งมหาเทวีวิสุทธิสิ้นพระชนม์
ทางฝ่ายพม่าจึงได้ส่งเจ้านายทางฝ่ายพม่ามาปกครองแทน
เพื่อคอยดูแลความเรียบร้อยของเมืองเชียงใหม่ ในสมัยนั้นเมืองเชียงใหม่เกือบจะเป็นเมืองพระยามหานครของพม่าแล้ว
อีกประการหนึ่งก็เพื่อที่จะเกณฑ์พลชาวเชียงใหม่
และเตรียมเสบียงอาหารเพื่อไปทำศึกสงครามกับทางกรุงศรีอยุธยา
อาณาจักรล้านนาในฐานะเมืองขึ้นของพม่า
มีการกบฏแก่งแย่งชิงอำนาจกันอยู่ตลอดเวลา ไม่ใช่แต่เชียงใหม่อย่างเดียว
แต่เมืองอื่น ๆ ในล้านนาก็ด้วย จนกระทั่งราชวงศ์นยองยาน
สถาปนาอาณาจักรรัตนปุระอังวะอีกครั้งจึงหันมาปกครองเชียงใหม่โดยตรง
2. การแต่งกายของแม่หญิงล้านนา
การแต่งกายเป็นสิ่งสำคัญสิ่งหนึ่ง
ที่บ่งบอกเอกลักษณ์ของคนแต่ละพื้นถิ่น สำหรับในเขตภาคเหนือหรือดินแดนล้านนาในอดีต
ปัจจุบันการแต่งกายแบบพื้นเมืองได้รับความสนใจมากขึ้น
แต่เนื่องจากในท้องถิ่นนี้มีผู้คนหลากหลายชาติพันธุ์อาศัยอยู่ เช่น ไทยวน ไทลื้อ
ไทเขิน ไทใหญ่ และอิทธิพลจากละครโทรทัศน์
ทำให้การแต่งกายแบบพื้นเมืองมีความสับสนเกิดขึ้น
ดังนั้นคณะทำงานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม กลุ่มสถาบันอุดมศึกษาภาคเหนือ
จึงได้ระบุข้อไม่ควรกระทำในการแต่งกายชุดพื้นเมือง ของ “แม่ญิงล้านนา” เอาไว้ว่า
1.ไม่ควรใช้ผ้าโพกศีรษะ ในกรณีที่ไม่ใช่ชุดแบบไทลื้อ
2. ไม่ควรเสียบดอกไม้ไหวจนเต็มศีรษะ
3. ไม่ควรใช้ผ้าพาดบ่าลากหางยาว
หรือคาดเข็มขัดทับ และผ้าพาดที่ประยุกต์มาจาก ผ้าตีนซิ่นและผ้า “ตุง” ไม่ควรนำมาพาด
4. ตัวซิ่นลายทางตั้งเป็นซิ่นแบบลาว
ไม่ควรนำมาต่อกับตีนจกไทยวน
2.1 การเกล้าผมและเครื่องประดับศีรษะ
2.1.1 การเกล้าผม การเกล้ามวยผมของหญิงชาวล้านนามีหลายแบบ เช่น
เจ้านายไทเขินจะเกล้ามวยไว้กลางหัว ไทใหญ่มวยอยู่ กลางหัวแต่จะเอียงมาทางซ้าย
เพื่อให้ปลายผมทิ้งชายยาวห้อยลงมา ส่วนการเกล้าผมอย่างคนไทยวน มีชื่อเรียกขานต่างๆ
กัน ดังนี้
‘เกล้าวิดว้อง’ เป็นการเกล้าผมทรงสูงแล้วดึงปอยผมขึ้นมาเป็นว้องหรือเป็นห่วงอยู่กลางมวย
‘เกล้าผมบ่มจ๊อง หรือ
ผมอั่วจ๊อง’ คือ การเอาผมปลอมปอยหนึ่ง (จ๊อง-ช้อง)
ใส่เข้าไปในมวยผมเพื่อให้มีขนาดใหญ่ขึ้น
‘เกล้าผมแบบอี่ปุ่น หรือ
เกล้าแบบสตรีญี่ปุ่น’ เป็นทรงผมที่นิยมมากในสมัย
พระราชชายาเจ้าดารารัศมี
2.1.2
เครื่องประดับศีรษะและการตกแต่งมวยผม ‘ปิ่นปักผม’ ชาวยองเรียกปิ่นว่า หมาดโห
ส่วนลาวล้านช้างเรียกว่า หมั้นเกล้า
การใช้ปิ่นปักผมมีประโยชน์ทั้งใช้เพื่อขัดผมให้อยู่ทรง
หรือใช้เป็นเครื่องประดับเพื่อเพิ่มความสวยงามให้มวยผม วัสดุที่นำมาทำปิ่นก็มีแตกต่างกันไป
เช่น ปิ่นเงิน ปิ่นทองคำ ปิ่นทองเหลือง ปิ่นที่ทำจากเขา-กระดูกสัตว์
ลักษณะของปิ่นปักผม
มีหลายรูปแบบต่างกันออกไป เช่น ปิ่นทองเหลืองลักษณะโบราณที่แม่แจ่ม
ทำเป็นช่อชั้นคล้ายเจดีย์ ซึ่งปิ่นโบราณที่พบในล้านนาก็มีลักษณะเช่นเดียวกันนี้
ส่วนยอดปิ่นอาจประดับด้วยอัญมณีอย่างทับทิมหรือหินสีก็ได้ นอกจากนี้ยัง
มีปิ่นที่ทำเป็นรูปร่ม ได้แก่ ปิ่นจ้องของชาวไทลื้อ หรือไทเขินในเชียงตุง
‘ดอกไม้ไหว’ เมื่อยามจะไปวัดทำบุญหญิงชาวล้านนามักจะเหน็บดอก ไม้ไว้ที่มวยผม
ดังมีคำกล่าวว่า ‘เหน็บดอกไม้เพื่อบูชาหัว
และเพื่อก้มหัวบูชาพระเจ้า’ โดยดอกไม้ส่วนใหญ่ที่นำมาประดับเวลาไปวัดนั้น
มักเป็นดอกไม้หอมสีสุภาพ เช่น ดอกเก็ดถะหวา (ดอกพุดซ้อน) ดอกจำปา-จำปี เป็นต้น
ส่วนดอกไม้ที่นำมาประดับเพื่อเพิ่มความสวยงามนั้น มักนิยมใช้ดอกเอื้องผึ้ง
ซึ่งต่อมาได้มีการ ประดิษฐ์ดอกเอื้องด้วยทองคำ เงิน ทองเหลือง เรียกว่า
เอื้องเงินเอื้องคำ นอกจากนั้นก็ยังมีดอกเอื้องที่ทำจากกระดาษอีกด้วย
‘หวีสับ’ หวีสับที่นำมาประดับผมมีทั้งหวีงา หวีทอง หวีเงิน หวีเขาสัตว์
หรือปัจจุบันมักเห็นเป็นหวีพลาสติก ซึ่งพบได้มากในหญิง ชาวไทลื้อสิบสองพันนา
ที่มักจะใช้หวีสับสีสันสดใสเป็นเครื่องประดับมวยผม ส่วนหวีที่ทำจากทองคำ เงิน หรือ
หวีที่ทำจากงาช้าง มักจะเป็นหวีของชาวไทใหญ่
‘โพกหัว เคียนผ้า’
มักพบการโพกหัวในชีวิตประจำวันของ คนเฒ่าคนแก่ชาวยองในลำพูน
หรือชาวไทลื้อในสิบสองพันนา
ที่ต่างก็โพกผ้าขาวเป็นปกติเวลาไปวัดเพื่อความเรียบร้อย
อีกทั้งยังช่วยกันแดดและกันฝุ่นผงที่จะมาเกาะผมที่ชโลมน้ำมันมะพร้าวไว้
นอกจากนั้นการโพกผ้ายังสามารถเป็นตัวบ่งชี้สถานภาพของผู้หญิงอีกด้วย เช่น
หญิงไทลื้อในเมืองอู ถ้ายังไม่ออกเรือนจะ โพกหัวด้วยผ้าสีชมพู แต่ถ้าออกเรือนแล้ว
จะโพกผ้าสีอะไรก็ได้
2.2 เครื่องประดับร่างกาย
2.2.1
ตุ้มหู การเจาะหูนั้นภาษาล้านนา เรียกว่า บ่องหู ชาวไทใหญ่ เรียกว่า ปี่หู
ส่วนตุ้มหูของชาวไทยวนมีลักษณะต่างๆ กันไป เช่น
‘ด็อกหู’ ซึ่งสันนิษฐานว่าอาจเป็นคำๆ
เดียวกับ ‘ดอกหู’ ซึ่งอาจหมายถึงการเอาดอกไม้มาเสียบไว้ที่ติ่งหูก็เป็นได้
จะมีลักษณะ เป็นตุ่มกลมๆ
‘ลานหู’ มีลักษณะเป็นแผ่นใบลาน แผ่นเงิน
หรือทองคำ นำมาม้วนแล้วใส่เข้าไป เพื่อให้รูที่เจาะไว้ขยายกว้างออก เรียกว่า ‘ควากหู’
นอกจากนั้นยังมีคำต่างๆ
ที่ใช้เรียกตุ้มหูอีกหลายคำ เช่น ท่อต๊าง ท่อต๊างลานหู หน้าต้าง หละกั๊ด เป็นต้น
2.2.2 สร้อย
‘สร้อยคอ’ หรือที่ภาษาเหนือเรียกว่า ‘สายคอ’ แต่เดิมการใส่สร้อยคอของหญิงล้านนาอาจจะไม่เป็นที่นิยมนัก
เนื่องจากพิจารณา ดูจากภาพจิตรกรรมฝาผนังตามวัดต่างๆ
ไม่ปรากฏว่ามีรูปผู้หญิงใส่สร้อยคอ แต่จะมีการใส่สร้อยสังวาลปรากฏอยู่แทน
ดังนั้นการ ใส่สร้อยคอน่าจะเพิ่งได้รับความนิยมในสมัยหลังมานี้
‘จี้คอกับสร้อยอุบะ’ จี้คอเป็นเครื่องประดับที่ใช้คู่กับสร้อยคอ
โดยมีรูปแบบแตกต่างกันไปตามความชอบของแต่ละคน
ส่วนสร้อยอุบะจะมีลักษณะกลมกลืนกันระหว่างส่วนที่เป็นสร้อยกับอุบะ
ซึ่งน่าจะได้รับอิทธิพลมาจากภาคกลาง
‘ล็อกเกต
เข็มกลัด’ ล็อกเกตจะมีลักษณะคล้ายคลึงกับ
‘จี้’ แต่จะเปิดออกได้
โดยข้างในมักนิยมใส่รูปบุคคลที่มีความสำคัญ ต่อเจ้าของ
แต่บางครั้งล็อกเกตนี้ก็สามารถดัดแปลงเป็นเข็มกลัดได้ด้วย
‘สร้อยสังวาล’ ผู้รู้ทางด้านการแต่งกายแบบล้านนาได้กล่าวไว้ว่า
สร้อยสังวาลนี้น่าจะเป็นเครื่องทรงของเจ้านายฝ่ายหญิง มากกว่าจะเป็นของหญิงสามัญชน
จำนวนเส้นของสร้อยสังวาลยังบอกถึงฐานะทางสังคมอีกด้วย
แต่โดยปกติจะใส่พาดทับผ้าสไบเพียง เส้นเดียว
2.2.3 กระดุม ภาษาพื้นเมืองเรียก ‘บ่าต่อม’ น่าจะใช้กันอย่างแพร่หลายในช่วงต้นรัตนโกสินทร์
เพราะเมื่อสังเกตจากภาพจิตร กรรมฝาผนังในล้านนา
ก็จะเห็นแต่ผู้ชายที่ใส่เสื้อแบบฝรั่งเท่านั้นที่ติดกระดุม
กระดุมมีหลายประเภทและใช้วัสดุแตกต่างกันไป เช่น
ลักษณะกระดุมที่เป็นเชือกถักขอดเป็นปม น่าจะได้รับอิทธิพลมาจากจีน
ส่วนเสื้อของไทใหญ่ไทลื้อจะเป็นกระดุมห่วงที่สามารถถอดไป ใช้กับเสื้อตัวอื่นได้
โดยกระดุมเหล่านี้มีทั้งทำมาจากทองคำ นาก เงิน อัญมณี แก้ว เป็นต้น
2.2.4 เข็มขัด ภาษาล้านนาเรียกว่า ‘สายฮั้งปอบแอว’ ส่วนชาวจังหวัดน่านเรียกว่า ‘แบ้ว’ สันนิษฐานว่าเพี้ยนมาจากคำว่า ‘BELT’ ส่วนชาวลำปางเรียกว่า
‘ต้าย’ เป็นทั้งเครื่องใช้และของประดับ
ควบคู่ไปกับผ้าซิ่นและเตี่ยวสะดอ แต่ถ้าสังเกตจากภาพ จิตรกรรมฝาผนัง
ภาพของทั้งบุรุษและสตรีล้วนแต่ไม่ใช้เข็มขัด
แต่จะใช้วิธีทบและขมวดปมผ้าซิ่นหรือกางเกงแทน
2.2.5 กำไล
ภาษาล้านนาเรียกกำไลว่า ‘ขอแขน
ว้องแขน ขะแป่ง’ ชาวไทลื้อเชียงคำ
เรียกกำไลว่า ‘กอกไม้’ ส่วนชาวไทใหญ่ เรียกว่า ‘แหวนมือ’ โดยลักษณะของกำไลนั้นมีหลายแบบ เช่น
กำไลวง คือ กำไลที่มีลักษณะเป็นวงกลมธรรมดา กำไลเกลียว
มีลักษณะเป็นเกลียวเดียวหรือหลายเกลียวเรียงกัน ส่วนกำไลข้อเท้า จะเรียกว่า ‘ขอแฅ่ง หรือ ว้องแฅ่ง’
2.2.6 แหวน ภาษาไทลื้อเรียกว่า ‘จอบมือ’ ภาษาไทใหญ่เรียกว่า ‘มงกวย’ ทางภาคเหนือมีแหวนช่อ (จ้อ)
ลักษณะเป็นช่อเป็นชั้น ความสำคัญของแหวนล้านนา น่าจะอยู่ที่หัวแหวนเป็นสำคัญ คือ
แก้วหรืออัญมณีที่ใช้ประดับแหวน แก้ววิเศษที่ถือว่าเป็นของมงคล
ในการนำมาทำเป็นหัวแหวน เช่น แก้ววิทูรย์ แก้วผักตบ แก้วบัวมรกต แก้วมหานิลไชยโชค
แก้วมหานิลซายคำ เป็นต้น
2.3
ผ้าซิ่น
ผ้าซิ่นที่แม่ญิงชาวล้านนานิยมนุ่ง
มีแบบที่ตัดสำเร็จ และแบบที่เป็นผืน เรียก ‘ซิ่นต่วง’
หรือ ‘ซิ่นบ้วง’ ปัญหาของการนุ่งซิ่น
คือ การนุ่งซิ่นกลับหัว มักจะเกิดกับซิ่นลาว ซิ่นไทลื้อ เพราะ
ซิ่นลาวมักมีลวดลายซับซ้อน ส่วนซิ่นไทลื้อจะมีผ้าสีห้อมเป็นเชิง ในส่วนที่
เป็นลายจะพาดอยู่ตรงสะโพก
ซิ่นตีนจกแม่แจ่ม |
ซิ่นตีนจกแม่แจ่ม เมืองแม่แจ่มได้รับการกล่าวถึงความประณีตในศิลปะแห่งการทอผ้าซิ่นตีนจกซึ่งมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ผ้าซิ่นที่เป็นของเก่าจะมีลวดลายแบบดั้งเดิม
ซึ่งเป็นที่นิยมของผู้ที่สนใจซื้อหาไปสะสม เมื่อซิ่นแม่แจ่มเริ่มมีชื่อเสียง
การทอผ้าซิ่น แบบใหม่จึงได้เริ่มขึ้น แต่เนื่องจากลวดลายแบบเก่านั้นทำยาก
ซิ่นแม่แจ่มในปัจจุบันจึงเป็นลวดลายแบบใหม่ ผ้าฝ้ายที่ใช้ก็มัก
เป็นผ้าฝ้ายเกลียวจากโรงงาน มากกว่าที่จะใช้ผ้าฝ้ายจากธรรมชาติ
ซิ่นก่านซิ่นเต๋า |
ซิ่นก่านซิ่นต๋า ซิ่นต๋า ซิ่นก่าน
เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ซิ่นต่อตีนต่อแอว (แอว-เอว) “ต๋า”
คือ ลายเส้นพาดขวางกับลำตัว “ก่าน” คือ ลายพาด “ต่อตีนต่อแอว” คือ
การเอาผ้าซิ่นอีกชิ้นต่อตรงหัวซิ่น และอีกชิ้นหนึ่งต่อเป็นตีนซิ่น ดังนั้น ซิ่น 1
ผืน จึงประกอบไปด้วย 3 ส่วน คือ หัวซิ่น
ตัวซิ่น และตีนซิ่น ในส่วนที่เป็น “ต๋า หรือ ก่าน” จะมีชื่อเรียกเฉพาะที่ต่างกันออกไป เช่น
ซิ่นต๋าผุด คือ ซิ่นที่มีลวดลายในตัวแต่มองเห็นได้ไม่ชัดนัก
ต๋าแลว คือ ลวดลายที่มีเส้นพาดเส้นเดียว
สองแลว คือ ลวดลายที่มีเส้นพาด 2 เส้น เป็นต้น
ต๋าแลว คือ ลวดลายที่มีเส้นพาดเส้นเดียว
สองแลว คือ ลวดลายที่มีเส้นพาด 2 เส้น เป็นต้น
ซิ่นก่านซิ่นต๋า หรือ ซิ่นต่อตีนต่อแอวนี้ เป็นซิ่นแบบโบราณของชาวไทยวน
ที่พบเห็นได้ทั่วไป ปัจจุบันมักพบเป็น “ซิ่นก่าน ทอลวด”
คือ เป็นซิ่นที่ทอทั้ง 3 ส่วน
ติดต่อกันเป็นผืนเดียว
ซิ่นไหมสันกำแพง |
ซิ่นไหมสันกำแพง เส้นไหมของสันกำแพงเป็นไหมที่เส้นเล็ก อ่อนพลิ้ว เงางาม
ซิ่นต๋าหรือซิ่นก่านไหม มีแหล่งผลิตหลักอยู่ที่ สันกำแพง
แต่ในส่วนลายพาดขวางที่เรียกว่า สองแลว สามแลว นั้น ทางสันกำแพงได้สร้างเอกลักษณ์เฉพาะตนขึ้นมาใหม่
โดยขยาย แถบให้กว้างขึ้น แล้วไล่ระดับเล็กใหญ่เรียงกันไป และค่อนข้างมีสีสันฉูดฉาด
เช่น สีบานเย็น เหลือง เขียว ม่วง เป็นต้น
ซิ่นน้ำถ้วม เป็นซิ่นของกลุ่มไทยวนในเชียงใหม่กลุ่มหนึ่ง
มีแหล่งกำเนิดอยู่บริเวณทะเลสาบดอยเต่า ในอดีตบริเวณนี้ เป็นชุมชนโบราณ
มีความเจริญรุ่งเรืองในทุกๆ ด้าน แต่ประวัติศาสตร์ทั้งมวล รวมทั้งศิลปะการทอผ้า
ได้ล่มสลายลงไปอยู่ใต้น้ำ เมื่อมีการสร้างเขื่อนภูมิพล
ดังนั้นผ้าซิ่นของชาวบ้านกลุ่มนี้ จึงได้ชื่อว่า ‘ซิ่นน้ำถ้วม’
ซิ่นน้ำถ้วมนี้มีเอกลักษณ์เฉพาะตน ตัวซิ่นประกอบไปด้วย 3 ส่วน คือ ตีนจก ตัวซิ่น และหัวซิ่น ซิ่นแบบเก่ามักทอลายห่าง
ซึ่งเป็นแบบอย่างของตีนจกโบราณของทุกพื้นที่
ก่อนจะเพิ่มลายเพิ่มฝ้ายให้หนาขึ้นในภายหลัง และจากการอพยพย้ายถิ่นฐาน
การเปลี่ยนวิถีชีวิตในการดำรงชีพของชาวบ้านกลุ่มนี้ ซิ่นน้ำถ้วมในปัจจุบัน
อาจจะขาดคนสืบต่อการทอซิ่นชนิดนี้ไปแล้ว
ซิ่นไหมยกดอกลำพูน ซิ่นไหมยกดอกลำพูนมิใช่เป็นซิ่นที่มีมาแต่เดิม
ผ้าไหมยกดอกเป็นผ้าไหมที่มีราคาสูง ทอขึ้นสำหรับเจ้า นายหรือตัดเป็นชุดเจ้าสาว
จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ทำให้ทราบว่า พระราชชายาเจ้าดารารัศมี
ทรงสนับสนุนให้มีการทอผ้า ไหมยกดอกขึ้น
ส่วนลวดลายนั้นได้รับอิทธิพลมาจากผ้าทอทางภาคกลาง ประสานกับลายผ้าทอทางเหนือ
จึงเกิดเป็นลายซิ่นยก ดอกลำพูนขึ้น
ซิ่นพม่า |
ซิ่นพม่า มีชื่อเรียกขานมากมาย เช่น
ซิ่นลุนตยา ซิ่นเช็ก ซิ่นอินเล ซิ่นซิมเหม่ ซิ่นยะไข่ ฯลฯ
ซึ่งซิ่นแต่ละแบบก็มีลักษณะ แตกต่างกันไป เช่น ซิ่นลุนตยา อฉิก
มีลาดลายคล้ายคลื่นพาดขวาง มีผ้าต่อตีนซิ่นเป็นหางยาวๆ
ซึ่งอาจจะมีทั้งแบบแซมด้วยดิ้นเงิน ทอง หรือเป็นซิ่นแบบธรรมดา
ปัจจุบันพบว่ามีผ้าพิมพ์ลายลุนตยาวางขายอยู่มากมาย ซิ่นเช็ก มีลวดลายคล้ายซิ่นลุนตยา
แต่เป็นไหมทอเครื่อง เป็นต้น
ซิ่นไทลื้อ |
ซิ่นไทลื้อ ซิ่นไทลื้อมักมีลวดลายเป็นดวงบริเวณสะโพก
ซึ่งที่มาของลวดลายนี้มีกล่าวถึงในตำนานพื้นเมืองสิบสองพันนาไว้ว่า “กาลครั้งหนึ่ง มีเทวบุตรลงมาเกิด ในเมืองมนุษย์เป็นหมาควายหลวง
(ในตำนานคำว่า ‘ควาย’ นั้น ไม่มีสระอา)
และได้ฆ่าชายชาวเมืองเชียงรุ่งจนหมด และได้ผู้หญิงในเมืองเป็นเมีย ต่อมามีมานพ
หนุ่มกล้าหาญ ได้พลัดหลงเข้ามาในเมืองและได้ฆ่าหมาควายหลวงตาย
ฝ่ายหญิงทั้งหลายต่างก็ร้องไห้และใช้มือตะกุยตะกายซากศพจนเปื้อนเลือด และได้เอามือ
ที่เปื้อนเลือดมาเช็ดผ้าซิ่นตรงสะโพก ตั้งแต่นั้นมาซิ่นไทลื้อจึงมีลวดลายสีแดง
เป็นจุดเด่นตรงสะโพก และเรียกลายซิ่นดังกล่าวว่า ‘ซิ่นตาหมาควาย(หลวง)’
”
ปัจจุบันหญิงชาวไทลื้อในสิบสองพันนาที่เป็นคน
เฒ่าคนแก่ยังคงแต่งกายแบบไทลื้อดั้งเดิม แต่สำหรับหญิงสาวมักจะนิยมนุ่งซิ่นที่เป็นผ้าทอจากโรงงานซึ่งมีสีสัน
สดใสมากกว่าการนุ่งซิ่นแบบเดิม
3. ประเพณีล้านนา
3.1 ประเพณีการปลูกเรือน
ประเพณีวัฒนธรรมการปลูกเรือนนั้น
ในแต่ละสังคมย่อมมีวิธีการที่แตกต่างและคล้ายคลึงกันไป
ขึ้นอยู่กับปัจจัยทางสังคมที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ และสภาพแวดล้อม
ประเพณีการปลูกเรือนล้วนแฝงไว้ด้วยคติความเชื่อของสังคมนั้นๆซึ่งเป็นตัวกำหนดพื้นฐานของการปลูกสร้างบ้านเรือน
เพื่อให้บังเกิดความอยู่เย็นเป็นสุขแก่ผู้อาศัยในเรือนนั้นๆ การ “ปกหอยอเฮือน” เป็นคำพูดในภาษาล้านนา
หมายถึงประเพณีการปลูกเรือนล้านนา
แต่เดิมที่อยู่อาศัยของชาวล้านนามีด้วยกันหลายระดับ
แล้วแต่ฐานนะของเจ้าของมีตั้งแต่ตูบติดดิน ตูบหมาแหงน ตูบหย่างร่างเรือน
ตูบพื้นหลองข้าว เรือนไม้บั่ว เรือนเครื่องไม้จริง เรือนไม้จริงล้วน
คือพื้นแป้นฝาแป้น เป็นต้น (ศรีเลา เกษพรหม, ๒๕๓๙, หน้า ๖๕)
การครองเรือนของคนล้านนา
แต่โบราณนิยมให้ฝ่ายชายอยู่ร่วมกับฝ่ายหญิง เรียกว่า วิวาหมงคล หรือ วิวาหะมังคละ
เพื่อให้ฝ่ายชายได้รับใช้บิดามารดาฝ่ายหญิง เรียกว่า “ได้ลูกอ้ายหลานชาย” เพื่อเป็นการตอบแทนที่ฝ่ายชายได้ลูกสาวของเขามาเป็นภรรยา
เป็นเวลา ๓ ปีเป็นอย่างน้อย จึงจะแยกตัวลงมาตั้งเรือนใหม่อีก ๑ ครอบครัว เรียกว่า “ลงปักซั้งตั้งกิน” (มณี พยอมยงค์, ๒๕๓๐, หน้า ๑๗๐) การปลูกเรือนในสมัยโบราณจะปลูกให้ดีทีเดียวเลยไม่ได้
ถือว่าขึด จะเกิดโรคภัยไข้เจ็บ แต่ถ้าพ้น ๓
ปีไปแล้วจะปลูกเรือนแบบใดก็ได้ไม่มีขึดอันใด
ในปีแรกต้องปลูกเรือนแบบฝังเสาดั้งจากดินขึ้นไป เรียกว่า “เสาดั้งจ้ำดิน”
เรือนแบบนี้อยู่ได้ประมาณ ๑ ปีเท่านั้นก็ต้องรื้อปลูกใหม่
การปลูกเรือนในปีที่ ๒ จะสร้างเรือนผูก
คือผูกขื่อผูกแปกับเสาเรือนได้โดยเสาดั้งตั้งจากขื่อขึ้นไป ปีที่ ๓
จึงจะปลูกเรือนแบบเจาะรูขื่อรูแป เพื่อสวมเข้ากับเดือยปลายเสาได้ เรียกว่า “เรือนขื่อสุบ” ในการปลูกเรือนใหม่ชายหนุ่มจะต้องหาสถานที่อยู่และเตรียมอุปกรณ์ในการทำบ้านไว้อย่างพร้อมมูล
(ศรีเลา เกษพรหม, ๒๕๓๙, หน้า ๖๕)
เรือนไม้ล้านนาสมัยโบราณ |
เรือนไม้ล้านนาสมัยปัจจุบัน |
3.2 ประเพณีทานก๋วยสลาก
ประเพณีทานก๋วยสลาก หรือสลากภัต
เป็นประเพณีทางพระพุทธศาสนาที่สำคัญที่แสดงออกถึงความสามัคคีกันในการมาพร้อมหน้าในบรรดาหมู่ญาติพี่น้อง เพื่อการทำบุญถึงญาติที่ได้ล่วงลับไปแล้ว
ประเพณีนี้ ได้ปฏิบัติสืบทอดกันมาช้านาน ในดินแดนล้านนา
เริ่มถือปฏิบัติตั้งแต่ครั้งใดไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด การทานก๋วยสลาก
เริ่มราววันเพ็ญเดือน๑๒ เหนือ
หรือประมาณเดือนกันยายน
และสิ้นสุดในเดือนเกี๋ยงดับ หรือประมาณเดือนตุลาคมของทุกปี ซึ่งถือว่าเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสม
เพราะชาวบ้านว่างจากการงานและเป็นช่วงที่ยังอยู่ในฤดูฝน
พระภิกษุสามเณรยังคงจำพรรษาอยู่ในวัดอย่างพร้อมเพรียง ในภาคกลางก็มีการทำบุญเหมือนกันนี้ เรียกว่า “การทำบุญสลากภัต” จะแตกต่างกันที่ระยะเวลา
ภาคกลางมักเริ่มทำในช่วงเดือน ๔ เดือน ๕ เดือน ๖
ซึ่งเป็นระยะที่ผลหมากรากไม้สุกงอม
และเป็นช่วงที่ว่างจากการงานไม่มีการเก็บเกี่ยวใดๆ (บุญเลิศ ครุฑเมือง, ๒๕๓๗, หน้า ๑๙๙)
ในอดีต
การจัดประเพณีทานก๋วยสลาก
ถือเป็นธรรมเนียมว่า จะต้องจัดที่วัดสำคัญก่อน ในจังหวัดเชียงใหม่ จะต้องเริ่มจัดหรือตานก๋วยแรกที่วัดเชียงมั่นก่อนแห่งอื่น
เพราะถือว่าเป็นวัดของพญามังรายมหาราช ผู้สร้างเมืองเชียงใหม่ ในจังหวัดลำปาง
จะเริ่มจัดวัดปงยางคกก่อนวัดอื่น
เพราะเป็นวัดต้นตระกูลของเจ้าเจ็ดตน (หนานทิพย์ช้าง) (สงวน โชติสุขรัตน์, ๒๕๑๒, หน้า ๑๔) ในจังหวัดน่าน
เริ่มจัดประเพณีทานก๋วยสลากที่วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร ซึ่งเป็นวัดหลวงก่อน
จึงจะจัดประพณีนี้ที่วัดอื่นๆได้
แต่ปัจจุบันจัดให้มีประเพณีนี้ขึ้นตามสะดวก (บุญเลิศ ครุฑเมือง, ๒๕๓๗, หน้า ๒๐๐)
3.3
ประเพณีทานหลัวหิงไฟพระเจ้า
ประเพณีทานหลัวหิงไฟพระเจ้า
คือการนำเอาฟืนมาเผา เพื่อให้พระพุทธเจ้าได้ผิงไฟ
จัดขึ้นในช่วงเดือน ๔ เหนือ
หรือประมาณเดือนธันวาคมถึงมกราคม ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำของเดือน เป็นช่วงที่มีอากาศหนาวเย็น ชาวล้านนามีความเชื่อว่า
พระพุทธเจ้าหรือพระพุทธรูปในวิหารก็รู้สึกถึงความหนาวเย็นเช่นเดียวกับคนเรา
จึงร่วมกันหาไม้ฟืนมาจุดเผาไฟผิงให้เกิดความอบอุ่น
ประเพณีนี้เป็นประเพณีที่เกิดขึ้นสอดคล้องกับบริบททางสภาพแวดล้อม
เนื่องจากในดินแดนล้านนาเป็นพื้นที่ๆมีความหนาวเย็นมาก
รวมทั้งมีป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ ต้นไม้ขึ้นหนาแน่น และมีความชื้นสูง การผิงไฟนอกจากจะให้ความอบอุ่นแก่ร่างกายแล้ว
ยังขับไล่ความชื้นในอากาศที่เป็นสาเหตุของการเจ็บป่วย (มณี พยอมยงค์, ๒๕๓๐, หน้า ๗๙)
คำว่า
“หลัว” เป็นภาษาล้านนา หมายถึง
ฟืน ส่วนคำว่า “หิง” หมายถึง การผิงไฟ
และคำว่า “พระเจ้า” หมายถึง
องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประเพณีทานหลัวหิงไฟพระเจ้ามีการปฏิบัติสืบเนื่องกันมาอย่างแพร่หลายทั่วไปในล้านนา
แต่ปัจจุบันเหลืออยู่เพียงไม่กี่แห่ง ส่วนมากจะเป็นวัดที่อยู่แถบชนบทห่างไกล
และสามารถเสาะหาฟืนได้ง่าย ได้แก่วัดยางหลวง และวัดป่าแดด อำเภอแม่แจ่ม
จังหวัดเชียงใหม่ ประเพณีนี้มักจะทำควบคู่ไปกับประเพณี “ทานข้าวล้นบาตร”
เพื่อบูชาแม่โพสพ และทานข้าวใหม่ให้แก่วัด
บางแห่งก็เรียกรวมว่าเป็นประเพณี “ทานข้าวใหม่-หิงไฟพระเจ้า”
(สนั่น ธรรมธิ. นักวิชาการศึกษาชำนาญการพิเศษ, สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, สัมภาษณ์,
๒๓ มกราคม ๒๕๕๓) หลังจากสิ้นเดือน ๓ เหนือ หรือประมาณเดือนธันวาคม
พระ เณร และขโยมวัด จะพากันออกไปหาฟืนในป่า
เพื่อเตรียมไว้สำหรับทานหลัวหิงไฟพระเจ้าในเดือนยี่เป็ง
3.4 ประเพณียี่เป็ง
ประเพณียี่เป็ง
หรือประเพณีเดือนยี่ คำว่า ยี่ในภาษาล้านนาหมายถึงเดือน
๒ ส่วนคำว่า เป็งหมายถึง คืนที่มีพระจันทร์เต็มดวง
ดังนั้น ยี่เป็ง จึงหมายถึงวันเพ็ญเดือนยี่
ซึ่งตรงกับวันเพ็ญเดือนสิบสองของภาคกลาง การนับเดือนของล้านนานั้น เร็วกว่าภาคกลาง
๒ เดือน อันเนื่องมาจากการนับเดือนของชาวล้านนา เป็นการนับทางจันทรคติแบบจีน
ประเพณียี่เป็ง ถือเป็นประเพณีที่สนุกสนานรื่นเริงของชาวล้านนาในยามฤดูปลายฝนต้นหนาว
ท้องทุ่งข้าวออกรวงเหลืองอร่าม บางแห่งอยู่ในระหว่างเก็บเกี่ยว
ท้องฟ้าปลอดโปร่งแจ่มใสยิ่งนัก
ดังนั้น
ในช่วงฤดูนี้ เด็กๆจึงพากันเล่นว่าวกันอย่างสนุกสนานตามท้องทุ่ง
และยิ่งเข้าใกล้วันเพ็ญสิบห้าค่ำ เดือนยี่ มักจะได้ยินเสียง บอกถบ(ประทัด) ที่ชาวล้านนาจุดเล่นดังอยู่ทั่วไป
พระและเณรช่วยกันทำว่าวลม(โคมลอย) และปล่อยขึ้นสู่ท้องฟ้า กิจกรรมเหล่านี้
เป็นสัญลักษณ์บอกว่าใกล้จะเข้าสู่เดือนยี่เป็งแล้ว
ในยามค่ำคืนยี่เป็งของชาวล้านนา
หมู่บ้านจะสว่างไสวด้วยแสงผางประทีส (ประทีป) ที่ชาวล้านนาจุดบูชา
เรียงรายทั่วทุกครัวเรือน บริเวณที่จุด ได้แก่ บันได หน้าต่าง ยุ้งข้าว นอกจากนี้
ยังจุดโคมไฟใส่ค้างแขวน บริเวณหน้าบ้านประดับตกแต่งด้วยซุ้มประตูป่า
ปักโคมหูกระต่ายเรียงรายทั้งสองฝากของท้องถนนในหมู่บ้าน
ที่วัดมีเทศนาธัมม์ตั้งธรรมหลวงหรือเทศน์มหาชาติ
ทำซุ้มประตูป่า ขัดราชวัตร ปักช่อตุง จำลองเขาวงกต ภายในวิหาร
ประดับตกแต่งด้วยตุงพระบฏเล่าเรื่องพระเวสสันดรชาดก และลานวัดมักจุดบอกไฟ
(ดอกไม้ไฟ) เพื่อบูชาพระพุทธเจ้าห้าพระองค์ในภัทรกัปนี้ คือ พระกกุสันธะพุทธเจ้า
พระโกนาคมะพุทธเจ้า พระกัสสปะพุทธเจ้า พระศากยมุนีโคตมะพุทธเจ้า
และพระอริยเมตตรัยพุทธเจ้า
Iron oxide - Titanium Gables - TiNanews
ตอบลบThe Iron oxide does titanium have nickel in it alloy is one of the most popular metal titanium dioxide metals, titanium bolts especially sunscreen with titanium dioxide the titanium jewelry piercing platinum-based. · Iron oxide - Titanium Gables.